กรรมฐานปิดวาจาวัดมเหยงคณ์ 9-16 ก.ย.2558
เข้ากรรมฐานปิดวาจากับทางชมรมกัลยาณธรรม ณ วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 9 - 16 กันยายน 2558 เริ่มเดินทางตั้งแต่วันที่ 8 ตอน 17.10 น. ถึงวัดตอน 17.20 น ไปถึงก็รีบทำความสะอาดห้อง อาบน้ำ และจ่ายค่าห้องก่อนเลย (นั่งสมาธิ) ตอนเช้าก็ทำตามระเบียบการณ์ที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ กว่าจะเสร็จพิธีการ ก็เกือบ 11.00 น ก็รับประทานอาหารมังสะวิรัติ แล้วก็เริ่มทยอยใช้หนี้ใช้สินกันไปเรื่อยๆ
เริ่มจากเดินจงกรม งานนี้เดินเป็นหลัก เดือนจนอาการบาดเจ็บที่เคยเป็นมาก่อนที่จะมาอบรมกำเริบขึ้นอีกที่ กระดูกสะโพกด้านซ้าย แต่ก็ไม่ย่อท้อนะ บางครั้งก็เดินจนขาลากเลยก็มี ปวดจนทนไม่ไหวก็ไปขอขอจากพี่เลี้ยงที่คอยดูแลผู้ที่มาเข้ากรรมฐาน พอดีเป็นพยาบาลด้วย ระบุว่าต้องกินยาให้ครบ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น แต่เรากินได้แค่สองมื้อ ส่วนมื้อเย็นก็กินนะแต่ต้องดื่มน้ำเยอะหน่อยเพื่อไม่ให้ตัวยาระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้ละการทำความเพียรได้เลย เดินครั้งละ 1 - 1.30 ชั่วโมง แล้วต่อด้วยนั่ง 40 นาทีบ้าง 1 ชั่วโมงบ้าง
ที่นั่งคาประตูไม่ใช่อะไรหรอก ข้างในห้องสูงกว่า เวลาเอาเบาะนั่งกรรมฐานวาง จะได้นั่งสบายขึ้นไม่ต้องเจ็บกระดูกสะพากมากเกินไป
ใน3วันแรกนั่งยังไงสมาธิไหลหลุดตลอด ไม่ได้เป็นเฉพาะที่บ้านนะเป็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แรกๆก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ทำไมเวลาเรานั่ง เมื่อจิตเริ่มจะรวมเป็นสมาธิ ก็จะจำสภาวะที่ครั้งหนึ่งเคยจิตรวมเข้าสู่ปฐมฌาน แต่ห่างการนั่งมาหลายปี พอมานั่งจนจิตเริ่มจะรวมก็มีอาการไหลหลุดจากสมาธิทุกที ไม่ว่าจะพยายามค่อยๆประคองจิตเรื่อยๆ ลมหายใจก็เริ่มแผ่วเบาลงไปทุกขณะ
ในวีนที่ 4 เปลี่ยนวิธีใหม่คือ ไม่เอาอะไรเลย ไม่อยากได้ อยากมี อยากเป็นอะไรทั้งนั้น ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่สนใจ เพราะคิดว่าน่าจะเป็น นันทิ ความอยากในระดับสมาธินี่เองเป็นตัวกางกั้น ก็พิจารณา อาการ 32 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กลับไปกลับมา แรกๆก็เป็นไปอย่างช้าๆ แล้วก็เร็วขึ้นมาเอง ลมหายใจละเอียดลงไปทุกขณะ ส่วนบนของร่างกายไม่รับรู้อาการใดเลย มองเห็นแต่ตรงท้องเป็นโพรงขนาดใหญ่ มือที่ประสานกันอยู่หายไปหมดแล้ว และช่วงขาก็เริ่มจะสลายหายไปทีละน้อย
เจ้าวิจิกิจฉาดันมาสงสัยอะไรตอนนี้ว่า เอ๊ะมือเราหายไปไหน ขยับนิ้วมือไม่ได้เลย ขยับทีแรก จับอาการของร่างกายไม่ได้ ก็ลองขยับครั้งที่สอง ไม่มี ก็กำหนดทำครั้งที่ 3 บทสรุป ไหลหลุดออกมาอยู่ที่เดิม
ในที่สุดก็มาเข้าใจว่า สิ่งที่มาขวางการปฏิบัติของเรานั้น ไม่ใช่ยักษ์ มารที่ไหน ก็จิตของเรานี่เอง เริ่มด้วยเจ้าตัว กามฉันทะ การติดสุขในกามคุณ 5 รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และตัวที่ร้ายพอๆกันคือ อุทธัจจะกุกกุจ
จะ มีเรื่องให้คิดตลอด เดี๋ยวโดดไปในอดีต ย้อนมากังวลใยอนาคต โดดไปที่บ้าน เดี๋ยวเลี้ยวกลับมาที่ทำงาน การแก้ไขตรงนี้ไม่ได้อยากเห็นอะไรนัก ก็แค่ดูเขาเล่าเรื่องแต่ไม่ต้องเสนอความคิดเห็นหรือสนองตอบใดๆทั้งสิ้น เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้นึกถึงเรื่อง นิทานเวตาลขึ้นมาเหมือนมาก พระวิกรมาทิตย์จะไปนำตัวเจ้าเวตาลมามอบให้โยคีชื่อ "ศานติศีล"โดยเจ้าเวตาลจะคอยเล่าเรื่องตลอดพระวิกรมาทิตย์พอเอ่ยปากพูดด้วย เจ้าเวตาลก็จะลอยกลับไปอยู่ที่เดิม พระวิกรมาทิตย์ ก็ต้องย้อนกลับไปนำตัวกลับมา ใหม่ จนครั้งหลังสุดไม่ได้เอ่ยปากใดๆจึงนำตัวเจ้าเวตาลกลับมาโดยง่าย
พระวิกรมาทิตย์ ก็คือ จิตของเราเอง
การเข้าไปข้องแวะด้วยกับความคิด ทำให้จิตไม่สามารถดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรมได้ เมื่อไม่ไปใส่ใจ สนใจอะไร เจ้าความคิดก็สยบราบคาบยอมจำนนแต่โดยดี
นอกนั้นอาศัยความเด็ดเดี่ยว และวางใจได้ก็ผ่านไม่ยากเย็นอะไรได้แก่
พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น
โปรดอย่ารอให้ว่างจากการงาน หรือเกษียนอายุก่อนค่อยมาปฏิบัติธรรม เพราะอาจจะไม่มีวันนั้นสำหรับเรา หรือ อาจจะมีวันนั้นสำหรับเราแต่ไม่เหมาะกับเราในวัยนั้นๆก็ได้
การปฏิบัติที่ทำกันจริงๆจังแต่ไม่เกินไปและไม่ย่อหย่อนเกินไป ต้องได้รับผลกลับมาไม่มากก็น้อย
ตอบลบ