บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2014

ลองยลก็เห็นธรรม ลองทำก็เห็นเอง

การเข้าสู่สภาวะธรรม คือ การคืนสู่ธรรมชาติของจิต เพียงรู้ แต่ไม่ยึด เพียงรู้สึก สักแต่ว่า เพียงเห็น การเกิด ดับ ของสรรพสิ่ง ไม่ใช่เห็น ความนึกคิด ลองยลก็เห็นธรรม ลองทำก็เห็นเอง ................................ธนัชพงศ์..........................

ทำดี ต้องได้ ดี ทำชั่ว ต้องได้ ชั่ว ขึ้นอยู่กับเวลา

                   หลายคนที่ยังไม่เข้าใจธรรมดีพอ และพอดี ก็มักจะสรุปเอาเองว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป  หลักของพระพุทธศาสนาแล้วเน้นที่กฎแห่งกรรม หรือ การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏะ  อภิณหปัจจเวกขณ์ ได้กล่าวไว้ว่า  ชราธัมโมมหิ  ชะรัง อะนะติโต                    มีความแก่เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ พะยาธิธัมโมมหิ  พะยาธิง  อะนะตีโต           มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต         มีความตายเป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว                                                           จักพลัดพราก...

สุข หรือ ทุกข์ อยู่ที่เราหันไปหามันเอง

รูปภาพ
สุข หรือ ทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่ใจ หรอก  อยู่ที่เราจะหันไปหาสุข หรือ  หันไปหาทุกข์  หันไปหาสุข ใจก็สุข หันไปหาทุกข์ ใจมันก็ทุกข์                  ใจน่ะ มาทีหลัง          ไอ้ที่หันไปหา นั่นมาก่อน            สิ่งนั้นคือ ผัสสะ นั่นเอง  

ดูเวทนา ให้รู้ในเวทนา

รูปภาพ
ในระหว่างที่ป่วยอยู่จิตก็พลันระลึกรู้ที่เวทนา ก็มาพิจารณา ไปตามอาการคนเป็นไข้ว่า เวลาเราปกติ เราก็ภาวนาบ้าง ไม่ได้ภาวนาบ้าง แต่เราก็รู้ รู้ รู้ ในอิริยาบถ น้อยใหญ่ ก็เป็นเพียง อนุสสติเท่านั้น ถ้าเป็นวิปัสสนา ก็ได้แก่ กายานุปัสสนา ในหมวด สัมปชัญญะ นั่นก็คือ เรายังมองเห็นอยู่ในอาการปกติ แต่เมื่อเราหลับตาลง กำหนดลมไม่นาน ก็จะหลับ ต้องกำหนดดึงสติอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่นึกอยู่ ก็พลันนึกต่อไปว่า หากคนเราเกิดเวทนา ส่วนใหญ่มักพากันละการดู รู้ในเวทนา แต่จะไปกำหนดดู รู้ เวลานั่งสมาธิ กันเสียส่วนใหญ่ เวลาป่วยไข้ หรือ เจ็บหนัก จึงไม่ทันได้กำหนดเวทนา เพราะไปพะวงกับอาการเจ็บ เสียก่อน ถ้าไม่มีพระมาโปรด มาบอกกัน ตายไปก็นับว่าเสียดายจริงๆ          อาการป่วยไข้นี้สำคัญนัก เราต่างพากันละเลย คิดเสียว่า รอให้ทุเลา เบาบางก่อนค่อยมาเริ่มปฏิบัติกันใหม่ จนอาจลืมเรื่อง สำคัญไปมา การพลัดวันประกันพรุ่ง อาจจะไม่มีพรุ่งนี้สำหรับอีกต่อไป                                      ธนัชพงศ์....

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ

รูปภาพ
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ    พระตถาคตทรงแสดงเหตุ                 แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น                 พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้. เพียงเท่านี้ อุปติสสะ และ โกลิตะ สามารถบรรลุ พระโสดาบัน เพียงเข้าใจเนื้อแท้ของธรรมทั้งหลาย ต้องมีจุดเริ่มต้น ส่วนปลาย จะแตกผลิบาน ไปทางไหนในอีกเรื่องหนึ่ง              เมื่อเข้าใจถึงเหตุที่เกิดเริ่มแรก ถ้าเป็นสิ่งที่ดี ส่วนปลายก็ออกมาดี ถ้าจุดเริ่มต้นมันไม่ดี ส่วนปลายมันจะดีได้อย่างไร ทุกอย่าง เป็นเหตุ เป็นผล กันหมด ไม่ได้เกิดจากอำนาจของใครมาบันดาลให้มันเกิด ไม่ได้เกิดเพื่อสนองความอยากได้ ใคร่มี ของใคร              เมื่อทำความเข้าใจ ให้ตรง โอกาสที่จะผิดพลาดก็จะน้อยลง คือ ต้องเข้าใจในที่นี้ ต้องเข้าใจเข้าไปถึงสามัญสำนึก ไม่ได้เข้าใจเพียง ความจำได้ หมายรู้เท่านั้น ถ้าจะกล่าวให้ตรงประเ...

ความตายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ความตายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด              เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว ว่าเกิดมาต้องตายกันทุกคน ทุกชีวิต ทำไมคนเราจึงกลัวความตายได้มากมายเพียงนั้น ต่างพากันแสวงหายาอายุวัฒนะ ยาชะลอความแก่เฒ่า พยายามลบรอยเหี่ยวย่นตามร่างกาย โดยเฉพาะใบหน้า และเส้นผม                ความตายเหมือนการนอนหลับ เมื่อตื่นขึ้นมา อาจจะได้พบเจอกับเรื่องราวใหม่ๆ กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ คนรักใหม่ๆ ประสพการณ์ใหม่ๆ พบบททดสอบทางอารมณ์ใหม่ๆ ทั้งความสุขใหม่ๆ ความทุกข์ใหม่ๆ วนเวียนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า กับสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา                คนส่วนใหญ่ไม่ได้กลัวตายอย่างที่คิดกัน สิ่งที่กลัวคือ กลัวการพลัดพราก จากสิ่งอันเป็นที่รัก ที่พอใจ ที่พึงใจ กลัวข้าวของเงินทองที่อุตสาห์หามาทั้งชีวิตไปตกอยู่กับคนอื่น กลัวภรรยาที่ยังสาวไปมีสามีใหม่ กลัวสามีของตนไปมีภรรยาใหม่  กลัวสิ่งที่ตนเคยมีจะสูญเสียไป ทั้งๆที่รู้อยู่เต็มอกว่า ใดๆในโลกนี้ล้วนไม่มีใครนำติดตัวไปได้เลย แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้นำสิ่งใดติดพระองค์ไป หลา...

เกสปุตตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

รูปภาพ
เกสปุตตสูตร                น้อยคนนักที่จะรู้จัก พระสูตรนี้  แต่ถ้าจะบอกว่า กาลามสูตร หลายคนก็จะบอกว่ารู้จักดี แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยที่จะรู้เนื้อความโดยแท้จริง ต่างคิดตรงกันมากมายว่า พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับความเชื่อ 10 ประการที่กล่าวนำว่า อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา  อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา  อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้  อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา  อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง  อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน  อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ  อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว  อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้  อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา ก็จะสรุปว่า นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า หากจะใช้สติ คิดให้รอบครอบนิดหนึ่ง จะเห็ยความผิดปกติบางอย่าง การที่พระพุทธเจ้าจะสอนใคร ต้องมีการถาม ตอบ หรือ ทำความเข้าใจ กับตัวผู้ถูกสอน เนื้อหาจริงๆในพระสูตรนี้ไม่ได้อยู่ที่ตรงนี้ หรือ ที่เราพากันเรียกว่า บัญญัติ...

การอ่านพระไตรปิฎก

รูปภาพ
          เวลาเราไปอ่านเจอใครนำพระไตรปิฎกเกี่ยวกับ พระสูตร ก็ดี อรรถกถา ก็ดี พระสุตตันต ก็ดี หรือ พระวินัย ไม่ควรจะอ่านผ่านๆแล้ว กดถูกใจเสียทีเดียว ควรหาที่มาของเนื้อหาที่นำมาลง เพื่อตรวจทาน ดูว่าสิ่งที่เราเห็นเป็นเนื้อหาในพระไตรปิฎกจริงหรือไม่ หรือ เป็นเพียง ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นำมาเผยแผ่ผนวกกับเนื้อหาในพระไตรปิฎก           จะว่าไปแล้วเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะนำเสนออะไรก็ได้ ตามแต่ ที่ตนเองสนใจ และก็ศึกษามาดี โดยไม่นึกเฉลียวใจเลยว่า การนำความ คิดเห็นส่วนตัวใส่ลงไปในเนื้อหาที่มีอยู่จริงในพระไตรปิฎก ผิดเพี้ยนไป จากของเดิม แล้วก็พากันจดจำกันผิดๆ แม้แต่ตัวผู้แปลพระไตรปิฎกเอง ยังต้องใช้ความระมัดระวังในการแปล ต้องเทียบเคียงศัพท์ไม่ให้ผิดเพี้ยน ไปจากความหมายเดิมในภาษาบาลี ด้วยสิ่งที่ทุกท่านเกรงกลัวกันไม่ใช่ กลัวตำรวจมาจับ คนจะว่าร้ายอะไร แต่สิ่งที่กลัวคือ เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว จะต้อง ไปตอบคำถามต่อพระยายมราช ว่าทำไมจึงไปเปลี่ยนแปลงคำสอนใน พระไตรปิฎก โทษของการเปลี่ยนแปลงคำสอนสุดที่จะพรรณา ที่สุดถึง อเวจีมหานรก สุดแท้ว่าทำด้วยความตั้...

มุนีสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

รูปภาพ
๘. มุนีสูตร              [๒๔๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มี พระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความ เป็นผู้รู้ทางกาย ๑ ความเป็นผู้รู้ทางวาจา ๑ ความเป็นผู้รู้ทางใจ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้แล ฯ              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า                           พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวบุคคล                           ผู้รู้ทางกาย ผู้รู้ทางวาจา ผู้รู้ทางใจ ผู้หาอาสวะม...

ธรรมวันละคำสองคำ by ธนัสพงศ์

รูปภาพ
            3 กันยายน 2557                                           29 สิงหาคม 2557

ธนัชพงศ์ คนธรรมดา

ธรรมะ ไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่  ไม่ต้องรอวันว่าง ไม่ต้องให้ใครมาเป็นเพื่อน ธรรมอยู่ใจ ทำในสิ่งที่ควร จะธรรมในทำ หรือ ทำในธรรม แม้ความหมายต่างกัน แต่จุดมุมหมายก็คือ มรรคญาณ ข้อสำคัญที่ต้องเรียนรู้ สำหรับมือใหม่  กายต้องพร้อม ใจต้องหนักแน่น ไม่ลังเลสงสัยเกินเหตุ เชื่อฟังผู้สอน ไม่อ้างฤดูกาล ไม่อ้างเหตุการงาน ไม่ฝึกเองทำเองโดยไร้ผู้สอน การปฏิบัติที่จดจำรูปแบบที่ผิดๆ ก่อให้เกิดความเข็ดขยาดเมื่อทำไปแล้ว ปวดหัวรุนแรง ปวดหลังไหล่ หรือ หวาดกลัวกับสิ่งที่จิตสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่เราเกลียด กลัว มาเป็นทุนของใจอยู่แล้ว          การรู้จักลมหายใจ  รู้ว่าเราต้องหายใจอย่างไร จึงจะสร้างพลังของจิตขึ้นมาได้ ปกติ ลมหายใจของคนเราแบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่                               1. ลมหายใจขณะที่รีบเร่ง  การหายใจระยะนี้จะหายใจช่วงสั้นๆ แต่หนักหน่วง ร่างกายต้องการอ๊อกซิเจนไปเผาผลาญสารอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน         ...

The wall กำแพงที่มันหายไป ตอน 2

รูปภาพ
หลายคนก็ว่าต้องไปแก้นะ ปีนี้ชงเต็มๆมีแต่สูญเสียนะ ทำอะไรก็ไม่ได้ดี ก็ได้แต่รับฟังนะ ใครจะว่าอย่างไรมันสิทธิของ เขา อย่างกับเพลงอกหักก็ดี เสียงเศร้าๆก็ดี คนเขาก็เปิดของเขากันทุกวัน  ไม่ได้จำเพาะต้องมาเปิดเอาต อนที่เรากำลังเศร้าเสียเมื่ อไหร่ นั่นเพราะเราคิดเข้าข้างตัว เองต่างหาก จิตใจของคนจะเหมือนกันคล้าย กัน จะไปหารักในนิยายว่าจะครองค ู่กันจนแก่เฒ่า มันเป็นเรื่องของกรรมในอดีต ที่สร้างร่วมกันมามากน้อยเท ่าไหร่ หมดเหตุหมดปัจจัยที่มาประกอ บก็จำต้องแยกจากกัน หรืออาจเกิดจากกรรมของเราเอ งที่เคยไปทำกับเขามาก่อน แบบนั้นบ้างแบบนี้บ้าง คนเรามักเข้าข้างตัวเอง สิ่งใดที่ตัวเองกำลังทุกข์ก ็จะพยายามหาสิ่งที่แสดงถึงค วามทุกข์มาเป็นเพื่อน นี่คือสิ่งที่เราคิดไปเอง มีหลายสิ่งมากมายที่เป็นสิ่ งที่ดีๆที่เข้ามาเหมือนกัน แต่ทำไมเราไม่เห็น เพราะเรากำลังเศร้าโศกเสียใ จอยู่นั้นเอง ใครที่เข้ามาอ่านตรงนี้ อยากบอกว่า อย่าได้โกรธ โทษใครเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ มันไม่เที่ยงนะ แม้แต่ให้เรานั่งอยู่กับที่ เป็นเวลานานๆเรายังต้องขยับ ก้นบ้างเลย นับประสาอะไรกับชีวิตของคน ยิ่งเป็นคนอื่นด้วยแล้ว ตัวเราเองยังทนการอยู่...

The wall กำแพงที่มันหายไป

รูปภาพ
สังขาร คือสิ่งที่ปรุงแต่งทางใจเป็ นการกระทำทางกาย วาจา ใจต่างๆขึ้น แต่แฝงด้วยกิเลสที่เป็นเหตุ ปัจจัยสืบเนื่องให้เกิดความ ทุกข์ต่อไป จึงไม่ได้มีความหมายว่าอวิช ชาเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นของ สังขาร แบ่งออกเป็น กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร เพราะความไม่รู้มาแต่ต้น จากอิฐก้อนแรกที่เรานำมันมา สร้างเป็น The wall การปรุงแต่งทางใจแสดงผลออกม าทางกาย คือการกระทำ อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความท ุกข์ที่ค่อยๆแผ่ซ่านไปในอณู ของ The wall จนเราแยกไม่ออกว่าเป็นตัวเร าจริงๆหรือเป็นThe wall หรือเป็นสิ่งเดียวกัน   เพราะว่ามีเราใช่หรือไม่ จึงมีทุกสิ่งที่ต้องยึดต้อง ครอง เพราะมีความสวยความหล่อต้อง ขวยขวายรักษาไว้ เพราะทรัพย์สินเนืองนองครอง ใจไว้ เพราะอวิชชาพาผูกว่ามีเรา เป็นเรานั่นจริงหรือ ก่อให้เกิดกำแพงที่ขวางกั้น ความจริงไว้ อิฐก้อนแรกค่อยต่อเติมเริ่ม กว้างใหญ่ ใจพองโตว่านี่นั่นเป็นฉันขอ งของฉัน ชีพมลายพลันหายกายยังคง ชีพปลดปลงวางอยู่คู่ทรัพย์น อง

มีหนูอยู่ 1 ตัว วิ่งเข้าออกรู ทั้ง 6

รูปภาพ
            มีหนูอยู่ 1 ตัว วิ่งเข้าออกรู ทั้ง 6   จะดูหนู หรือ จะดูหนูวิ่งเข้าออกรู ถ้าคิดตามหนู จิตก็ส่งใน ถ้าคิดก่อนหนู จิตส่งออกนอก ความหมายประโยคข้างบน          ดูหนู ก็คือ ดูจิตของตนเอง ในอารมณ์ปกติ จิตคนเรานั้นเมื่อไม่มีการปรุงแต่ง จากสิ่งภายใน หรือ จาก สิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ภายใน (สัญญา) ดูด้วยอาการสงบ ไม่คิด ไม่ควานหา ไม่ปรุงแต่งให้เป็นผู้รู้ หรือ เป็นผู้ดู สิ่งที่ปรากฏใน มโนทวาร สิ่งที่ปรากฏ หรือ รับรู้ขึ้นมาเอง ที่ไม่ใช่ความนึกคิด จะเกิดขึ้นเองเมื่อ จิตของเราอยู่ในอาการสงบนิ่ง ไร้การควบคุมของความคิด ไร้การครอบคลุมของกิเลส จะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสิ่งทั้งหลาย ผ่าน อายตนะภายนอก และ อายตนะภายใน หรือที่เรียกว่า อายตนะ12           ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า สมถะ คือ การเพ่ง จ้อง การสะกด การข่ม ของความคิดที่มีผลกับจิตโดยประมาณ ผลที่ได้คือ ความสงบ ความนิ่ง ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ ปวดตัว ปวดต้นคอ ปวดเมื้อยเนื้อตัว การดูจิตที่อาศัยกำลังของสมถะ ภาพที่ปรากฏเหมือนการนำภาพมาต่อเรียงกัน...
รูปภาพ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๓. เผณปิณฑสูตร ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕  [๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำ กลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อ บุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อม ปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.              [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อม บังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิ...